บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย บ้านฟาร์มเฮาส์ หรือบ้านไร่ เมื่อได้ยินคำนี้ หลายๆคนอาจจะนึกถึงบ้านที่เป็นเพิง เป็นไม้ ขนาดเล็กๆ แคบๆ เหมือนกระท่อม แต่ที่จริงแล้วบ้านฟาร์มเฮาส์ มีดีไซน์ที่หลากหลายมากกว่านั้น ทั้งด้านขนาด การตกแต่ง และวัสดุ สามารถดัดแปลงให้ดูสะดุด ตามากกว่าปรกติได้ ให้มีความโฉบเฉี่ยว ความสบายมากขึ้น เพื่อตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่อยากมีบ้านท่าม กลางบรรยากาศที่สงบๆ แต่ในขณะเดียวกันก็อยาก ได้ดีไซน์ที่มีความแข็งแรง และตามยุคตามสมัยมากขึ้น

บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

บ้านฟาร์มเฮาส์มักจะมา ในรูปแบบของบ้านชั้นเดียวเสมอ เนื่องจากเน้นการ เป็นอยู่ที่เรียบง่าย สบาย ไม่ยุ่งยาก ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงความไม่ ซับซ้อนในการออกแบบ รวมถึงการไม่เปลือง เวลาในการทำความสะอาดด้วย

แบบบ้านฟาร์มแบบไทย ปลูกผักใจกลางธรรมชาติ

บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

บ่อยครั้งที่เราพบว่าคอนเซปต์หลัก ในการออกแบบบ้านหลังหนึ่ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ที่พักพิงหรือปกป้องผู้อยู่อาศัยจากสภาพแวดล้อม นั่นอาจจะเป็นเพราะเราต่างรู้ดีว่าโดยพื้นฐานบ้านต้อง ทำหน้าที่เหล่านี้อยู่แล้ว แต่มีแรงบันดาลใจมา จากการค้นหาคุณสมบัติ ที่หายไปจากชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ชีวิตเรียบง่าย

ลดความรู้สึกเร่งรีบ และวุ่นวายของชีวิตแบบเมือง ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือการบรรจุ กิจกรรมที่ชอบลงไปในพื้นที่ที่กลาย เป็นปัจจัยกำหนดของ การก่อตัวของบ้าน เหมือนเช่นบ้านนี้ที่จุดประสงค์แรกคือ “ต้องการสร้างบ้านที่สามารถ รองรับการจัดปาร์ตี้ เวลามีเพื่อน ๆ มารวมตัวกันหลายคนได้ และปลูกผักสวนครัว เป็นกิจกรรมให้กับผู้พักอาศัย อยู่ภายใต้งบประมาณที่ตั้งเอาไว้ บ้านเดี่ยว

จุดเริ่มต้นของ บ้าน ที่ดูน่าสบายหลังนี้ เกิดจากเจ้าของโครงการมีพื้นที่ เปล่าขนาดประมาณ 3 งานกว่าๆ ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ด้วยศักยภาพของพื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่่ไซต์ งานถูกล้อมไปด้วยทิวทัศน์ภูเขา

จึงมองว่าที่นี่เหมาะจะสร้างบ้านสำหรับ พักผ่อนหลีกหนีความวุ่นวายจากเมือง สามารถแวะมาทำงาน work from home ในช่วงที่อาจจะต้องรักษา ระยะห่างระหว่างได้ หรือจะใช้เป็นจุดศูนย์กลาง พบปะสังสรรค์เพื่อนๆ กางเต็นท์รับบรรยากาศเอาใจสายแคมป์ปิ้ง

บ้านสไตล์ฟาร์มแบบไทย

Wardwai Architect ผู้ออกแบบตั้งใจให้ทุกพื้นที่ ใช้สอยในบ้านสามารถมอง เห็นภูเขาได้ไม่ว่า จะอยู่ส่วนไหน ส่วนการออกแบบดีไซน์ อาคารได้แรงบันดาลใจมา จากแนวคิดฟอร์ม ของฟาร์มปศุสัตว์ยุโรปที่ใช้ไม้ แบบแนวตั้งพิมพ์ลายลงไปบนผิวคอนกรีต เกิดเป็น texture ใหม่ที่ดูน่าสนใจ และด้วยรูปทรงหลังคาจั่วไล่ระเับ 3 ระดับยกพื้นสูง มีเฉลียงทางเดิน ผสมผสานเส้นสายของระแนง ในอีกมุมมองจึงให้ความรู้สึก เหมือนมีกลิ่นอาย บ้านแบบญี่ปุ่นเจืออยู่เล็ก ๆ

เมื่อเดินผ่านระเบียง ทางเดินแล้วจะพบกับชาน ด้านหน้าบ้านทางทิศตะวันออก เป็นมุมนั่งจิบกาแฟยามเช้าพร้อมชมพระอาทิตย์ขึ้น ใจกลางบ้านมีประตูบาน เลื่อนขนาดใหญ่เปิด บ้านให้โล่งเหมือนไร้ผนังรับลมเย็นๆ ที่พัดผ่านตลอดเวลา แค่ได้นั่งเล่นนอนเล่น ในมุมนี้ก็รู้สึกผ่อนคลาย จนไม่อยากไปไหน

ในส่วนของฟาซาด บ้านที่เชื่อมต่อกับบันได ทีมงานเลือกใช้เป็นระแนงไม้ เทียมเป็นเส้นตรงขนาดเล็ก ๆ จัดวางเรียงกันในแนวตั้งให้เกิดเป็นริ้ว เพื่อทำหน้าที่ช่วย กรองแสงที่จะแรงขึ้น ในช่วงบ่าย และยังทำให้เกิดมิติ ของแสงและเงากระทบกับพื้นผิวบ้านที่ เปลี่ยนแปลงทิศทาง และรูปร่างไปตามการเดินทาง ของแสงในแต่ละช่วงเวลา

บริเวณชั้น 1 เป็นพื้นที่หลักของบ้านออกแบบ มาให้เป็นห้องโถงโล่งๆ ขนาดใหญ่แบบ open plan เรียงฟังก์ชันนั่งเล่น ทานข้าวและเคาน์เตอร์ครัวต่อ ๆ กัน โดยไม่มีผนังแบ่งห้อง เป็นห้องเล็กห้องน้อย และมีครัวไทยบริเวณ หลังบ้านรองรับวันทำเมนูหนัก ๆ

ห้องนั่งเล่น นั่งทำงาน

ซึ่งเป็นการจัดแปลน ที่ตอบโจทย์พฤติกรรม การใช้ชีวิตของเจ้าของบ้าน ที่ชื่นชอบการทำอาหาร และมักทานข้าวพร้อมกันที่โต๊ะนอกบ้านนั่งเล่น พูดคุยเป็นช่วงเวลา คุณภาพของครอบครัว จึงนำส่วนนี้มาเป็นหัวใจ หลักของบ้านโดยวางโต๊ะยาวขนาดหลายที่ นั่งเอาไว้บริเวณกลางบ้าน เป็นจุดเชื่อมโยงพื้นที่กิจกรรม เพื่อให้ง่ายต่อ การรวมตัวสังสรรค์และสามารถมองเห็นวิวทิวเขา แปลงผัก พื้นที่ปาร์ตี้เอาท์ดอร์ ได้อย่างชิดใกล้ จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ Farm to table house

เหนือโต๊ะตัวใหญ่เป็นโถงสูง (Double Space) ที่มีช่องระบายความร้อนที่ชั้น 2 ทำให้ความร้อนลอย ตัวขึ้นสู่ที่สูงและระบายออกจากตัวบ้านได้ง่าย เมื่อากาศไหลเวียน ไม่มีความร้อนสะสม จึงทำให้รู้สึกถึงสภาวะสบายในบ้าน นอกจากนี้โถงสูงยังทำหน้าที่ เพิ่มการเชื่อมต่อ ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ในมิติแนวตั้งให้คนที่อยู่ชั้นล่าง และห้องนอนชั้นบนสื่อสารกันได้แบบไม่ขาดการติดต่อ

เดินตามบันไดขึ้นมาบนชั้น 2 จะเป็นพื้นที่ส่วนตัว โซนห้องนอนหลักของบ้านหลัง ที่ตกแต่งด้วยผนังปูนขัดมันแบบลอฟต์สีเขียว และฝ้าที่กรุไม้ตามแนวหลังคาแบบ lean-to ลาดลงไปเหนือขอบ หน้าต่างทำให้รู้ สึกถึงพื้นที่เกิดเป็นความโปร่งโล่งเมื่ออยู่ในห้อง และยังขยายมุมมองเมื่อ มองผ่านหน้าต่างไปยังภูเขา ได้อย่างชัดเจนเขียว ๆ ผ่านหน้าต่างแนวตั้งสูงที่เรียง ยาวติดต่อกันหลายๆ บาน บ้านสไตล์ฟาร์ม

จะทักทายกันจากห้องข้างๆ หรือพูดคุยกับคนในบ้าน สมาชิกที่นั่งเล่นอยู่บนระเบียง ทางเดินก็ทำได้แบบง่ายๆ รู้สึกยิ่งชิดและใกล้ การได้มาใช้ชีวิตในไลฟ์สไตล์ช้าๆ แบบที่ชอบ ตื่นเช้ามาจิบกาแฟหอมๆ ท่ามกลางวิวภูเขา ได้ทานพืชผักปลอดสารพิษปลูก เองที่ดีต่อสุขภาพ สูดอากาศบริสุทธิ์ได้เต็มปอด เป็นชีวิตแบบละเมียดละไม ที่ตอบรับความต้องการพักผ่อนได้เต็มร้อย เหมือนอย่างที่ตั้งใจ

แต่งบ้านสไตล์ฟาร์มให้อารมณ์อบอุ่น น่ารัก

ครั้งนี้เราจะพาไปดูไอเดียการตกแต่งของบ้านหลังหนึ่ง เป็นบ้านจัดสรรสไตล์อิงลิชคอทเทจที่มีกลิ่นอายเหมือนบ้านชนบทในต่างประเทศ หากดูจากภายนอกเป็นบ้านในโครงการที่มีหน้าตาเหมือนๆ กัน แต่ภายในกลับแตกต่าง ด้วยมู้ดแอนด์โทนของเฟอร์นิเจอร์ ข้าวของเครื่องใช้ให้ความรู้สึกนุ่มนวลละมุนละไม

ซึ่งเจ้าของบ้านลงมือตกแต่งใส่ไอเดียไว้มากมายในทุกมุม ภายใต้คอนเซ็ปต์สไตล์ฟาร์มเฮาส์จนกลายเป็นบ้านน่ารักที่อบอวลไปด้วยความอบอุ่นในทุกอณู

แต่งบ้านแบบค่อยเป็นค่อยไป ถูกใจบ้านในโครงการนี้เพราะนอกจากเดินทางสะดวก ไม่พลุกพล่านแล้ว ยังให้ความรู้สึกเหมือนบ้านต่างประเทศในแถบชนบท ดีไซน์สวยด้วย พอเห็นปุ๊บเราคิดต่อทันทีเลยว่าถ้าได้อยู่ที่นี่เราจะแต่งบ้านให้ออกมาเป็นแบบไหน สุดท้ายก็ตัดสินใจซื้อหลังจากดูมาแล้วหลายโครงการ ค่อยๆ วางแผน ตกแต่งไปเรื่อยๆ ทำไปทีละจุด เพราะเราเคยมีประสบการณ์จากบ้านหลังเก่า

ซื้อเฟอร์นิเจอร์ยกเซ็ตแบบเค้า มาเลยเพราะเห็นเค้าจัดแล้วสวยมาก พออยู่ไปอยู่มากลายเป็นว่าไม่ชอบ รู้สึกเบื่อ ดังนั้นค่อยๆ ทำ ค่อยๆ แต่งน่าจะดีกว่า เราไม่จำเป็นต้องซื้อของ จากที่เดียวกันก็ได้ หาที่ถูกใจและชอบจริงๆ แล้วนำมามิกซ์เข้าด้วยกัน หรือการแต่งบ้านครั้งเดียวจบ ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะถูกใจ ทุกอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งในแต่ละปีมักเปลี่ยนไปตามเทรนด์ ปีนี้เราว่าของสวยแล้วแต่ปีหน้า เราอาจจะเจอของที่ถูกใจกว่านี้ก็ได้