บ้านทรงกล่อง 2 ชั้น
บ้านทรงกล่อง 2 ชั้น
บ้านนี้ไม่มีรั้วหน้าบ้านแต่ยังปลอดภัย
ถ้าเราสังเกตเวลาชมซีรีส์จะเห็นว่าบ้านในต่างประเทศหลาย ๆ ประเทศ ไม่มีรั้วรอบขอบชิดด้านหน้า แต่จะติดตั้งรั้วเอาไว้ด้านที่เป็นสวน ทำให้เกิดคำถามว่าแบบนี้จะไม่มีโจรขโมยหรือ แล้วจะป้องกันตัวบ้านอย่างไร อันที่จริงในแต่ละเขตก็มีทั้งบ้านแบบมีรั้วไม่มีรั้ว แล้วแต่กฏหมายของแต่ละที่ เช่น ในรัฐ arizona กฎหมายของเมือง คือทุกบ้านต้องไม่มีรั้วจึงเปิดให้เห็นภูมิทัศน์สวย ๆ ได้เต็มที่ บางรัฐที่มีรั้วจะกำหนดความสูงด้วยสูงได้ไม่เกินเท่าไหร่ ซึ่งเป็นการเพิ่มความเป็นมิตรกับเพื่อนบ้านอีกทางหนึ่ง ประกอบกับระบบการรักษาความปลอดภัยในบ้านที่เชื่อมต่อกับ 911 จึงทำให้ความจำเป็นของรั้วลดลง อย่างไรก็ตามแม้จะมีความ safety ก็ยังต้องการความเป็นส่วนตัว ซึ่งบ้านนี้ก็มีกลวิธีในการใส่กันชนและจัดลำดับความเป็นส่วนตัวเช่นกันครับ
ออกแบบ : Raleigh Architecture
ภาพถ่าย : Keith Isaacs
เนื้อหา : บ้านไอเดีย
บ้าน 2 ชั้น จัดระดับความเป็นส่วนตัวจากถนน
บ้านขนาด 218.32 ตารางเมตร ใน Raleigh สหรัฐอเมริกา ความปรารถนาของเจ้าของบ้านตั้งแต่เริ่มแรกคือ ความเป็นส่วนตัวในท่ามกลางชุมชนเมืองที่สร้างติด ๆ กัน การวางตำแหน่งของพื้นที่ใช้สอยจึงสำคัญมาก นักออกแบบจัดให้โรงรถที่ปิดด้านหน้าทึบสร้างความรู้สึกเงียบสงบจากโลกภายนอก และแยกทางเข้าเจ้าของบ้าน ห้องพักแขก มีห้องนอนอยู่ด้านหลัง ห้องข้างโรงรถเป็นห้องทานข้าวผนังกระจกมองเห็นด้านนอก ถัดไปเป็นครัว และมุมนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ด้านในสุด จึงเหมือนมีกันชนด้านหน้าที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยแม้ไม่มีรั้ว
มองจากด้านหน้าดูเป็นบ้าน 2 ชั้นธรรมดา ใช้โทนสีเทาและดำตัดกันเหมือนกล่อง 2 ใบวางเหลื่อมซ้อนทับกันและแยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิง มีรั้วไม้เตี้ย ๆ ด้านข้างบริเวณสวนเพื่อบอกขอบเขตบ้าน และเพิ่มความเป็นส่วนตัวยามทำกิจกรรมกลางแจ้งในสวน แต่เมื่อเข้าสู่ตัวบ้านจะพบกับโลกอีกใบที่เต็มไปด้วยความสว่างไสวและเชื่อมต่อกันได้หมด
จากโรงรถจะมีประตูเข้าสู่ตัวบ้านที่ค่อย ๆ จัดลำดับเข้าสู่พื้นที่ส่วนตัวอย่างช้า ๆ ถัดจากโรงรถเป็นห้องน้ำและห้องนอนแขก ด้านขวามือเป็นห้องทานอาหารและมีบันไดเล็ก ๆ 3 ขั้นนำเข้าสู่ห้องครัว ที่เิร่มต้อนรับการมาเยือนด้วยความอบอุ่นของไม้ และผนังสีขาวกระจ่างตา
บ้านโถงสูง สว่างด้วย Skylight
สถาปนิกจัดพื้นที่ใช้สอยภายในโดยเลื่อนห้องนอนขึ้นไปอยู่เหนือโรงรถ เพื่อให้มีพื้นที่สูงสองเท่า (double height spaces) เปิดโล่งสู่สวนส่วนตัวหลังบ้าน ในโซนนี้จัดเป็นมุมครัวเพดานสูงสองชั้น มีพื้นที่จัดเก็บเพิ่มเติมจากการสร้างมวลแนวตั้งที่เปิดเพดานให้เต็มไปด้วยความสว่างจากช่องแสงสกายไลท์ สร้างความโปร่งโล่ง ช่วยการไหลเวียนของอากาศได้มากขึ้น โดยผนังสีขาวและบานตู้ลายไม้สร้างเอฟเฟคท์ในการรับรู้ถึงการจัดวางพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมโยงพื้นที่ที่เหลือให้มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันอีกด้วย
รอบ ๆ ห้องครัวที่เจาะโถงสูง มีพื้นที่รอบข้างเหลือทำเป็นชั้นลอยสมาชิกในบ้านที่อยู่ต่างกันจึงมองเห็นและปฏิสัมพันธ์กันได้ ผนังสูงที่กั้นพื้นที่บ้านยังซ่อนบันไดเอาไว้ให้ความเป็นส่วนตัวจากเพื่อนบ้านและสร้างสรรค์อาณาจักรเล็ก ๆ ที่มีเคล็ดลับของแสงที่ทำให้บ้านแตกต่างอยู่ข้างใน
บ้านไอเดียแชร์ไอเดีย : เครื่องมือในการสร้างความเป็นส่วนตัวนอกจากจะสร้างพื้นที่กันชนแบบตัวอย่างบ้านหลังนี้ ก็สามารถใช้ฟาซาด (Facade) เป็นบานหน้าต่างแบบระแนง หรือเป็นบานแบบแผ่นเหล็กฉลุ ก็ช่วยกั้นตัวบ้านออกจากสายตาเพื่อบ้าน เป็นเหมือนผนังชั้นนอกที่ให้ทั้งความสวยงาม ความปลอดภัยในขณะที่ยังรับแสง ลม และมองเห็นความเคลื่อนไหวภายนอกได้ชัดเจน แบบบ้านชั้นเดียว มินิมอล
บ้านโมเดิร์น เรียบเท่ของครอบครัวสถาปนิกอย่าง คุณพัชระ วงศ์บุญสิน และคุณอรณิชา ดุริยะประพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทพอ สถาปัตย์ จำกัด เรียกความสนใจของเราได้ตั้งแต่แรกเห็น และยิ่งทวีความน่าสนใจมากขึ้นไปอีกเมื่อเจ้าของบ้านบอกกับ room ว่า “บ้านหลังนี้ผมไม่ได้สร้างมาเพื่อถ่ายรูป”
DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: POAR
“บ้านคุณพาณ” บ้านโมเดิร์น ซึ่งมีที่มาจากชื่อของลูกชายของผู้ออกแบบเอง ที่นี่ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 2 ปี ตัวบ้านมีขนาด 350 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนที่ดิน 400 ตารางเมตร ถมสูงจากถนน 70 เซนติเมตร เนื่องจากพื้นที่แถวนี้เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน ทั้งยังตั้งใจสร้างบ้านนี้บนที่ดินผืนเดียวกับครอบครัวของคุณอรณิชา จากเดิมที่เคยตั้งใจจะออกแบบบ้านให้มีขนาด 3 ชั้น ต่อมาทั้งคู่ได้ปรับแบบระหว่างก่อสร้างให้เหลือเพียง 2 ชั้น เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้อยู่ใกล้ชิดกัน อย่างไรก็ตามทั้งสองได้วางแผนต่อเติมโครงสร้างเผื่อไว้แล้ว กรณีที่ต้องการต่อเติมพื้นที่ชั้น 3 สำหรับลูก ๆ ในอนาคต
อย่างที่คุณพัชระบอกกับเราตั้งแต่แรกว่า ไม่ได้สร้างบ้านเพื่อถ่ายรูป ทุกอย่างจึงไม่ได้เน้นที่ความสวยงาม แต่เน้นไปที่ฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก ส่วนรูปทรงนั้นถือเป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากการออกแบบฟังก์ชัน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากห้องนอนขนาดใหญ่ “พิเศษ” กว่าห้องนอนมาตรฐานทั่วไป เพราะมีความกว้างถึง 3 เมตร ยาว 13 เมตร และมีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน 2.30 เมตร วางตัวหันหน้าสู่ทิศเหนือซึ่งมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการพักผ่อน
ทั้งในแง่ของแสงแดด อุณหภูมิ และทัศนียภาพ โดยมีการออกแบบขนาด การเลือกใช้วัสดุ และตำแหน่งของห้องมาช่วยเสริมเพื่อสร้างประสบการณ์การอยู่อาศัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดกว่าจะลงตัวได้แบบนี้ คุณพัชระเล่าว่า ต้องมีการปรับแบบอยู่หลายครั้ง ทดลองไปพักโรงแรมและเยี่ยมชมโชว์รูมรถยนต์มาก็หลายแห่ง เพื่อศึกษาโครงสร้าง สเปซ และรูปแบบก่อนนำสิ่งที่ได้พบเห็นนั้นมาปรับใช้กับสิ่งที่ออกแบบไว้
นอกจากจะมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษแล้ว ห้องนอนนี้ยังแอบซ่อนอีกหนึ่งความพิเศษไว้ นั่นคือ คานเหล็กหนา 35 เซนติเมตรที่เชื่อมต่อกันรอบบ้านเสมือนเป็นกรอบรูปขนาดใหญ่ ล้อมรอบสวนสีเขียวไว้ตรงกลาง เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจึงสามารถมองเห็นวิวยอดไม้สีเขียวผ่านผนังกระจกใสยาวถึง 13 เมตรได้แบบพานอรามาราวกับเป็นองค์ประกอบหนึ่งของห้องนอน นอกจากนี้คานเหล็กที่เห็นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามอย่างที่เราเข้าใจผิดไปในทีแรก แต่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับส่วนต่อขยายในอนาคตทั้งการต่อเติมห้อง และสะพานทางเดินเชื่อมชั้นสองระหว่างบ้านคุณพัชระ และบ้านเดิมของครอบครัวคุณอรณิชาที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน
เมื่อห้องนอนลงตัวแล้ว ฟังก์ชันอื่น ๆ ของบ้านก็ตามมา โดยยังคงเลือกวางตำแหน่งห้องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และลมเป็นหลักเพื่อให้บ้านสามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้สูงสุดเช่น การวางตำแหน่งห้องน้ำ ห้องเก็บของ และส่วนซ่อมบำรุงไว้ทางทิศตะวันตก เพื่อให้ความร้อนจากแสงแดดในช่วงบ่ายช่วยลดความอับชื้น
นอกจากนี้พื้นที่ชั้นล่างซึ่งเป็นส่วนที่สมาชิกในครอบครัวชอบมาใช้เวลาด้วยกัน ยังดึงแนวคิดพื้นที่ใต้ถุนบ้านมาปรับใช้ โดยออกแบบให้ฝ้ามีความสูงจากพื้นถึง 2.80 เมตร ช่วยให้ลมพัดผ่านได้สะดวกจนแทบไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ สเปซมีความโปร่งโล่งไม่อึดอัดและไม่ลืมใส่ใจรายละเอียดของช่องเปิดเป็นพิเศษ ทั้งการออกแบบรูปทรง ขนาด และตำแหน่งของหน้าต่างให้ตอบโจทย์กับทิศทางลม สามารถดึงแสงธรรมชาติเข้ามาในบ้านได้อย่างเพียงพอ